วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

   ข้อสอบ O-net  เรื่อง อินเทอร์เน็ต


1)
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้อง
ก.
เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมกันระหว่างประเทศ
ข.
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลก
ค.
เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันภายในชุมชนเท่านั้น
ง.
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันระหว่างองค์กรกับองค์กรด้วยกัน
2)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงข้อใด
ก.
การพาณิชย์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลยุทธ์การซื้อเท่านั้น
ข.
การพาณิชย์ที่ใช้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ค.
การพาณิชย์ที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กระจายสินค้าในตลาดอุตสาหกรรม
ง.
การพาณิชย์ที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กระจายสินค้าในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค
3)
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
ก.
อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET)
ข.
รหัสประจำเครื่องควรจะต้องเหมือนกันเพื่อง่ายต่อการจดจำ
ค.
มีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้มีการเรียกขานและเป็นที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น samsenwit.ac.th
ง.
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์
4)
หน่วยความจำที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์คือข้อใด
ก.
บิต
ข.
ไบต์
ค.
มินิไบต์
ง.
เร็คคอร์ด
5)
ข้อใดคือ DNS
ก.
TCP/IP
ข.
www.kws.ac.th
ค.
203.148.215.39
 
ง.
ptc_kk@hotmail.com




เฉลย

ข้อที่ 1. ตัวเลือกที่ 2 : เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลก
ข้อที่ 2.  ตัวเลือกที่ 2 : การพาณิชย์ที่ใช้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ข้อที่ 3. ตัวเลือกที่ 2 : รหัสประจำเครื่องควรจะต้องเหมือนกันเพื่อง่ายต่อการจดจำ
ข้อที่ 4. ตัวเลือกที่ 1 : บิต
ข้อที่ 5. ตัวเลือกที่ 2 : www.kws.ac.th

 

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Jiufan, ไต้หวัน

 
 
Jiufan, ประเทศไต้หวัน

ในต้นศตวรรคที่ 16 เมืองเล็กๆแห่งนี้พบว่า มีผู้อยู่อาศัยเพียง 9 ครัวเรือนเท่านั้น เมื่อมีสินค้ามาแวะที่เมืองแห่งนี้ ชาวเมืองทั้ง 9 ครอบครัวมักจะให้นำ “jiufan” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ยา 9 ขวด มาให้พวกเขาเสมอ . . . ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของชื่อเมือง ซึ่งหลังจากปี 1893 ที่มีการพบว่ามีแร่ทองคำอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ ทำให้มีผู้อยู่อาศัยอพยพมามากขึ้นจนกลายเป็นเมืองที่เห็นในปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

คำถามเกี่ยวกับซอฟแวร์

                                                                            



                                                                        ข้อสอบ O-net


 
1)
การรับข้อมูลจากแป้นอักขระ แล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลบนจอภาพ หรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ เป็นการปฏิบัติงานของซอฟต์แวร์ใด
ก.
ซอฟต์แวร์ระบบ
ข.
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค.
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ง.
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
2)
ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ก.
จัดตารางเวลา
ข.
ตรวจจับไวรัสคอมพิวเตอร์
ค.
ทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
ง.
เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
3)
ข้อใดกล่าวถึงการใช้งานซอฟต์แวร์ได้ถูกต้อง
ก.
ใช้ซอฟต์แวร์ระบบในการเปิดคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ข.
ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการปิดคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ค.
ใช้ทั้งซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ควบคู่กันไป
ง.
ใช้เฉพาะซอฟต์แวร์ระบบหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
4)
ข้อใดเป็นความหมายของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ก.
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ข.
โปรแกรมกำจัดไวรัส
ค.
โปรแกรมพิมพ์เอกสาร
ง.
โปรแกรมควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
5)
กรณีใดต่อไปนี้ ที่ควรใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์สแกนดิสก์
ก.
เมื่อคอมพิวเตอร์ค้างอยู่บ่อย ๆ
ข.
เมื่อต้องการลงโปรแกรมใหม่
ค.
เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ไปทุก ๆ 1 เดือน
ง.
เมื่อต้องการยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม


                  

                         เฉลย

1)  ก. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
2)  ข. ตรวจจับไวรัสคอมพิวเตอร์
3)  ค.ใช้ทั่งซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ควบคู่กัน
4)  ง. โปรแกรมควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
5)  ก. เมื่อคอมพิวเตอร์ค้างอยู่บ่อยๆ
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ไมโครคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้


                 1.  เคส(Case) คือ  ส่วนที่บรรจุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น แผงวงจนหลัก ฮาร์ดิสก์ หน่วยความจำ หน่วประ มวลผล เคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้งภายในเคส( case) ประกอบด้วย

 
                          -  Central Processing Unit - CPU :: ซีพียู คือสมองของคอมพิวเตอร์ นำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และประมวลผลข้อมูล ซีพียูเป็นส่วนประกอบหลักในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ สำหรับซีพียูที่ใช้ในปัจจุบันคือ Intel, AMD

-                   2. ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลและโปรแกรม ภายในจะมีข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ บรรจุอยู่ฮาร์ดดิสก์ตัวแรกจะถูกกำหนดเป็น "ไดร์ฟ C" เสมอ
'
 

 
              3.   แรม (RAM)แรม (RAM)  หน่วยความจำ หรือ แรม (RAM : Read Access Memory) เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการประมวลผล ข้อมูลชั่วคราว เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่มีการประมวลผลจะหายไปทันที
 
 
 
                4. แป้นพิมพ์ (Keyboard)   แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์'
 
 
   
 

          5. เมาส์ (Mouse) เมาส์  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญรูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ    

                6.   จอภาพ (Monitor)  จอภาพ หรือมอนิเตอร์ ทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและรูปภาพที่สร้างจากการ์ดแสดงผล ขนาดของจอภาพ วัดจาก ความยาวเส้นทแยงมุมของจอภาพ ขนาดมาตราฐานของจอภาพขั้นต่ำในปัจจุบันคือ 17 นิ้ว สำหรับหน่วยที่ใช้วัด เรียกว่า ดอตพิตช์ (Dot Pitch) ยิ่งมีขนาดเล็กจะมีความคมชัดสูง สำหรับขนาดดอตพิตช์ มาตราฐานไม่ควรมากกว่า 0.28 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีจอภาพที่กำลัง เป็นที่สนใจมากคือ จอแบน (LCD) ซึ่งกินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยมาก แต่ราคาปัจจุบันค่อนข้างถูกลงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจอ
 
              
 
        7. CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักใน
การประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับ
ไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้ 

                   สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที
 

             8. การ์ดจอ (Graphic Card)
การ์ดจอ (Graphic Card) หรือการ์ดแสดงผล เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์เลยครับ การ์ดจอ (Graphic Card) คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
 
 
9.  พาวเวอร์ซัพพลาย
แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX



 
   หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
 

          10. เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ด (Mainboard) คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น

และล่าสุดนี้มีการพัฒนาแบบ BTX (Balance Technology Extension) ได้นำพัดลมมาไว้ด้านหน้าเศสเพื่อนำลมเย็นเข้าไปภายในระบบและนำซีพียู(CPU)มาไว้ด้านหน้าเครื่องเพื่อรับสมเย็นโดยตรง ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมที่มีความเร็วรอบสูงและเสียงดัง ปัจจุบันเมนบอร์แบบ BTX ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น เคส ฮัตซิงค์ เป็นต้น


 

 

11. ดีวีดี (อังกฤษ: Digital Versatile Disc; ชื่อย่อ DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า

เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด

ความเร็วในการเขียนแผ่นดีวีดี 1x มีค่าเท่ากับ 10.5 Mb/s หรือราวๆ 1.32 MB/s

 

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
 
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่
1) คีย์บอร์ด (Keyboard)
อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)
2) เมาส์ (Mouse)
   อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เมาส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
-แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม
-แบบใช้แสง (Optical mouse)
-แบบไร้สาย (Wireless Mouse)
3) OCR (Optical Character Reader)
   อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader)
4) OMR (Optical Mark Reader)
Optical Mark Reader
อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ
5) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ
6) สแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่
แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม
แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน
7) ปากกาแสง (Light Pen)
เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ
8) จอยสติก (Joy Sticks)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย
9) จอสัมผัส (Touch Screen)
Touch Screen
เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน
10) เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
Point of Sale Terminal
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้า เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกรอกข้อมูลที่มีจำนวนมาก
11) แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
12) กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
Digital Camera
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้
13) อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน
microphone
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียงโดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์
 

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

 
 
cpu
 
     หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
     หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
     หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
     คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล
  • การทำงานของซีพียู
  • การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
  • กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
  
 
 
หน่วยความจำ
 
         
หน่วยความจำ (Memory) สามารถแยกประเภทได้ดังนี้
           1.
หน่วยความจำหลัก
             2. หน่วยความจำสำรอง

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
           หน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง โดยข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง ซึ่งมีซีพียูช่วยทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากหน่วยความจำ
          การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ซึ่งเราสามารถหาขนาดความจุของหน่วยความจำได้ โดยคำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล
          จำนวนพื้นที่ คือ จำนวนข้อมูลและขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บได้สูงสุดในขณะทำงาน ถ้าพื้นที่ของหน่วยความจำมีมากจะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้นด้วย

          หน่วยความจำหลักสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ
            1.1 แรม (RAM = Random Access Memory)
            1.2 รอม (ROM = Read Only Memory)

          แรม (RAM = Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ซึ่งข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวในขณะทำงาน จนกว่าเราจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนส่งให้กับเครื่อง เมื่อปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไป
“เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)”


ลักษณะของหน่วยความจำแบบ แรม (RAM) ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์


          รอม (ROM = Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำประเภทนี้จะอยู่แบบถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วย ส่วนใหญ่ใช้ในการเก็บโปรแกรมควบคุม
“เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า
หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)”
 
 
 
 
หน่วยความจำสำรอง

   
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)


         มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่ เนื่องจากขนาดของ
หน่วยความจำหลักมีจำกัด หน่วยความจำสำรองสามารถเก็บไว้ได้หลายแบบ เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) และจานแสดงแม่เหล็ก เป็นต้น

จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง
         จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง (Hard Disk) ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่นและเครื่องขับจาน (Hard Disk Drive) เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจาน
แม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงาน หัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้น ส่วนการบันทึกข้อมูลได้จำนวนมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องและรุ่นที่ใช้ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ขนาด 500 เมกะไบต์ (Megabyte) จนถึง 500 จิกะไบต์ (Gigabyte) หรือมากกว่า

จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง (Hard Disk)

แผ่นบันทึกหรือฟลอปปี้ดิสก์
         แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy Disk) เป็นหน่วยความจำรอง ตัวแผ่นทำด้วยพลาสติกชนิดอ่อน มาตรฐานที่นิยมใช้ในขณะนี้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว ความจุข้อมูล 1.44 เมกะไบต์ บรรจุในซองพลาสติกแข็งเพื่อป้องกันแผ่นบันทึกไม่ให้เสียหายง่าย ใช้เป็นสื่อในการถ่ายโอนหรือสำเนา
แฟ้มข้อมูล นอกจากนี้ยังมีแผ่นบันทึกชนิดพิเศษสามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากถึง 200 เมกะไบต์หรือมากกว่านั้น เช่น ซิปดิสก์ (Zip disk) แจ๊ซดิสก์ (Jaz Disk) เป็นต้น

แผ่นบันทึกข้อมูลชนิดพิเศษ และหน่วยขับแผ่นบันทึก

ซีดีรอม
         ซีดี ย่อมาจากคอมแพกดิสก์ และรอมเป็นคำเดียวกับหน่วยความจำแบบรอมคำว่า Read Only Memory แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) หรือแผ่นซีดี เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ออกมาใช้ ไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้ ใช้อ่านอย่างเดียว ลักษณะคล้ายแผ่นซีดีเพลง
ใช้ระบบแสงเลเซอร์ในการอ่าน ข้อมูลที่เก็บเป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพก็ได้ มีความจุประมาณ 650 เมกะไบต์ หรือมีความจุมากกว่าแผ่นเก็บข้อมูลประมาณ 450 เท่า หรือสามารถเก็บข้อมูลจากหนังสือประมาณ 500 เล่ม
 
 
 
 
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

        1. แสดงผลทางบนจอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ จอภาพอาจเรียกว่าหน่วยแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด ได้แก่
                   1.1 จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube Monitor) เป็นจอภาพที่มีรูปร่างขนาด และเทคโนโลยีเดียวกับโทรทัศน์ กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่มีหลักการทำงานโดยการยิงลำแสงผ่านหลอดแก้ว แสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีแคโทด ซึ่งทำให้มีแสงมายังตากของผู้ใช้ค่อนข้างมาก

จอซีอาร์ที

                   1.2 จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display Monitor) เป็นจอภาพแบบแบน และใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว หรือ liquid crystal จึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย จึงทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอแอลซีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 
                    1) จอทีเอฟที (TFT : Thin film Transistor) หรือแอคทีปเมทริกซ์ เป็นหน้าจอที่มีการตอบสนองต่อการแสดงผลที่ค่อนข้างไว ประมวลผลการทำงานได้รวดเร็ว ทำให้การแสดงผลมีความละเอียด สว่างและมีความคมชัดมาก มักจะนำไปใช้ในโน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ กล้องดิจิตอล เป็นต้น

จอทีเอฟที

                     2) จอพาสซีพเมทริกซ์ (passive matrix) เป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอทีเอฟที มักจะนำไปใช้เป็นจอโทรศัพท์มือถือทั่วไป หรือจอของเครื่องพาล์มท็อบคอมพิวเตอร์ สีขาวดำ

จอพาสซีพเมทริกซ์


                      1.3 จอพลาสมา (plasma monitor) เป็นจอภาพที่มีเทคโนโลยีที่ให้มุมมองจอภาพที่กว้างถึง 160 องศา มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ได้ดี จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์และกีฬาเป็นอย่างมาก

จอพลาสมา

การเลือกซื้อจอภาพ

        1. ควรเลือกประเภทของจอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานประมาณ 4-8 ชั่วโมง ควรเลือกภาพแอลซีดี

        2. ควรเลือกจอภาพที่มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ปัจจุบันมีมาตรฐานอยู่ 2 ขนาดที่ได้รับความนิยม คือ 15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ข้อดีของจอ 17 นิ้ว คือ เหมาะสำหรับงานออกแบบกราฟิก เพราะมีพื้นที่มากกว่าแต่มีราคาสูงกว่าจอ 15 นิ้ว

        3. ควรเลือกจอภาพที่มีศูนย์บริการและมีการรับประกัน

การดูแลรักษาจอภาพ

        1. การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรเปิดจอภาพก่อนจึงเปิดที่ case เครื่อง และไม่ควรเปิด ปิดเครื่องติด ๆ กัน ควรพักเครื่องไว้ประมาณ 5-10 นาที ก่อนเปิดเครื่องใหม่ เพราะการเปิดปิดเครื่องติด ๆ กันอาจทำให้การทำงานของเครื่องผิดปกติและเครื่องอาจค้างได้

        2. ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับแสงสว่างของห้องทำงานและสภาพการทำงาน เพราะถ้าปรับแสงสว่างของจอภาพมากเกินไป จะทำให้จอภาพมีอายุการใช้งานสั้นลง

        3. ควรตั้งโปรแกรมถนอมจอภาพเพื่อยืดอายุการใช้งานจอภาพให้ยาวนานขึ้น


            2. แสดงผลทางเครื่องพิมพ์

            เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปข้อมูล รายงาน รูปภาพ ลงบนกระดาษ ซึ่งสามารถสัมผัสและเก็บรักษาไว้ได้นาน เครื่องพิมพ์อาจเรียกว่า หน่วยแสดงผลถาวร ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์มีหลายชนิด ดังนี้

            2.1 เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (inkjet printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพราะมีราคาไม่แพงมากนัก หลักการพิมพ์ใช้วิธีฉีดพ่นหยดหมึกเล็ก ๆ ให้ติดกับกระดาษ มีข้อดีคือทำให้หยดหมึกไม่แพร่กระจายหรือซึมรวมกัน หมึกพิมพ์แบบสีต้องใช้แม่สีซึ่งบรรจุอยู่ในตลับสามสี ปกติการใช้งานสีแต่ละสีจะหมดไม่พร้อมกัน ถ้าสีใดสีหนึ่งหมดจะส่งผลทำให้เครื่องพิมพ์ไม่ทำงาน ดังนั้นบางบริษัทจึงแยกหมึกพิมพ์แต่ละสีออกจากกัน เพื่อให้เป็นอิสระในการเปลี่ยนสีเพื่อความประหยัด บางรุ่นอาจแยกหมึกสีดำออกมาต่างหากสำหรับการพิมพ์สีดำอย่างเดียว ส่วนใหญ่หมึกพิมพ์แบบฉีดหมึกจะมีราคาแพงเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยกับจำนวนแผ่นงานที่พิมพ์ แต่ให้ผลงานที่มีความสวยงาม คมชัดมากกว่า จะเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสวยงาม


เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก 

            2.2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าบวกบนแผ่นกระดาษที่เคลื่อนผ่าน ผงหมึกที่มีประจุลบจุถูกดูดกับประจุบวก จากนั้นลูกกลิ้งร้อนจะช่วยให้หมึกติดกับกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีความเร็วในการพิมพ์สูงและมีต้นทุนการพิมพ์เฉลี่ยต่อแผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก จึงเหมาะกับงานที่ต้องพิมพ์ปริมาณมาก เช่น สำนักงาน สถานศึกษา ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น

เครื่องพิมพ์เลเซอร์

การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์

        1. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับลักษณะของงานที่ต้องการ ถ้าเป็นงานพิมพ์เอกสารจำนวนมาก ควรเลือกเครื่องพิมพ์เลเซอร์ และถ้าเป็นงานพิมพ์ที่มีจำนวนไม่มากและต้องการงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก

        2. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน

การดูแลรักษาเครื่องพิมพ์

        1. ควรเลือกใช้กระดาษที่ได้คุณภาพและขนาดไม่ควรหนาเกินกว่า 90 แกรม

        2. ควรเก็บตลับหมึกไว้ในที่ปราศจากฝุ่นและในที่มีอุณหภูมิไม่สูง

        3. ควรเปิดเครื่องพิมพ์ทำงานอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก เพื่อป้องกันหัวฉีดของเครื่องพิมพ์อุดตัน



    1.3 ลำโพง

            ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์รูปแบบเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะให้มาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำโพงมี 2 ชนิด ดังนี้

        1. ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มสำหรับปรับเสียง ได้แก่ ปุ่ม volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม base สำหรับปรับระดับความดัง เสียงทุ้ม และปุ่ม treble สำหรับปรับระดับความดังของเสียงแหลม

        2. ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง จะมีกรวยของลำโพงที่ใช้ภายในตัวลำโพง (speaker) ขนาดเล็กประมาณ 2 นิ้ว ลำโพงชนิดนี้จะต้องใช้การ์ดเสียงที่มีวงจรขยายเสียงสำหรับขยายเสียงออกลำโพง


                                   การเลือกซื้อลำโพง

             1. ควรทดสอบฟังเสียงก่อน การทดสอบนั้นควรเปิดระดับดังที่สุดและเบาที่สุดเพื่อฟังความคมชัดของเสียง

             2. ควรเลือกลำโพงที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน
 
 
   การดูแลรักษาลำโพง
      1. ควรทำความสะอาดด้านหน้าลำโพง โดยการใช้ไม้ปัดฝุ่นหรือเครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็ก

        2. ควรเปิดเสียงในระดับปานกลาง หรือร้อยละ 80 จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เพราะถ้าเปิดดังเกินไป อาจทำให้ลำโพงเกิดความเสียหายได้