หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
1) คีย์บอร์ด (Keyboard)
อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)
|
2) เมาส์ (Mouse) |
-แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม |
-แบบใช้แสง (Optical mouse) |
-แบบไร้สาย (Wireless Mouse) |
3) OCR (Optical Character Reader) |
4) OMR (Optical Mark Reader) |
5) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ |
6) สแกนเนอร์ (Scanner) |
แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่ |
แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม |
แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน |
7) ปากกาแสง (Light Pen) |
8) จอยสติก (Joy Sticks) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย |
9) จอสัมผัส (Touch Screen) |
10) เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal) |
11) แผ่นสัมผัส (Touch Pads) |
12) กล้องดิจิทัล (Digital Camera) |
13) อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน
|
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล
- การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
- กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
หน่วยความจำ
หน่วยความจำ (Memory) สามารถแยกประเภทได้ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก
2. หน่วยความจำสำรอง
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
หน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง โดยข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง ซึ่งมีซีพียูช่วยทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากหน่วยความจำ 1. หน่วยความจำหลัก
2. หน่วยความจำสำรอง
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ซึ่งเราสามารถหาขนาดความจุของหน่วยความจำได้ โดยคำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล
จำนวนพื้นที่ คือ จำนวนข้อมูลและขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บได้สูงสุดในขณะทำงาน ถ้าพื้นที่ของหน่วยความจำมีมากจะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้นด้วย
หน่วยความจำหลักสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ
1.1 แรม (RAM = Random Access Memory)
1.2 รอม (ROM = Read Only Memory)
แรม (RAM = Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ซึ่งข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวในขณะทำงาน จนกว่าเราจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนส่งให้กับเครื่อง เมื่อปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไป
“เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)”
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)”
ลักษณะของหน่วยความจำแบบ แรม (RAM) ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
รอม (ROM = Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำประเภทนี้จะอยู่แบบถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วย ส่วนใหญ่ใช้ในการเก็บโปรแกรมควบคุม
“เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า
หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)”
หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)”
หน่วยความจำสำรอง
มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่ เนื่องจากขนาดของ
หน่วยความจำหลักมีจำกัด หน่วยความจำสำรองสามารถเก็บไว้ได้หลายแบบ เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) และจานแสดงแม่เหล็ก เป็นต้น
จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง
จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง (Hard Disk) ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่นและเครื่องขับจาน (Hard Disk Drive) เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจาน
แม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงาน หัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้น ส่วนการบันทึกข้อมูลได้จำนวนมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องและรุ่นที่ใช้ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ขนาด 500 เมกะไบต์ (Megabyte) จนถึง 500 จิกะไบต์ (Gigabyte) หรือมากกว่า
จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง (Hard Disk)
แผ่นบันทึกหรือฟลอปปี้ดิสก์
แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy Disk) เป็นหน่วยความจำรอง ตัวแผ่นทำด้วยพลาสติกชนิดอ่อน มาตรฐานที่นิยมใช้ในขณะนี้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว ความจุข้อมูล 1.44 เมกะไบต์ บรรจุในซองพลาสติกแข็งเพื่อป้องกันแผ่นบันทึกไม่ให้เสียหายง่าย ใช้เป็นสื่อในการถ่ายโอนหรือสำเนา
แฟ้มข้อมูล นอกจากนี้ยังมีแผ่นบันทึกชนิดพิเศษสามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากถึง 200 เมกะไบต์หรือมากกว่านั้น เช่น ซิปดิสก์ (Zip disk) แจ๊ซดิสก์ (Jaz Disk) เป็นต้น
แผ่นบันทึกข้อมูลชนิดพิเศษ และหน่วยขับแผ่นบันทึก
ซีดีรอม
ซีดี ย่อมาจากคอมแพกดิสก์ และรอมเป็นคำเดียวกับหน่วยความจำแบบรอมคำว่า Read Only Memory แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) หรือแผ่นซีดี เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ออกมาใช้ ไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้ ใช้อ่านอย่างเดียว ลักษณะคล้ายแผ่นซีดีเพลง
ใช้ระบบแสงเลเซอร์ในการอ่าน ข้อมูลที่เก็บเป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพก็ได้ มีความจุประมาณ 650 เมกะไบต์ หรือมีความจุมากกว่าแผ่นเก็บข้อมูลประมาณ 450 เท่า หรือสามารถเก็บข้อมูลจากหนังสือประมาณ 500 เล่ม
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. แสดงผลทางบนจอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ จอภาพอาจเรียกว่าหน่วยแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด ได้แก่
หน่วยแสดงผล คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. แสดงผลทางบนจอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ จอภาพอาจเรียกว่าหน่วยแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด ได้แก่
1.1 จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube Monitor) เป็นจอภาพที่มีรูปร่างขนาด และเทคโนโลยีเดียวกับโทรทัศน์ กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่มีหลักการทำงานโดยการยิงลำแสงผ่านหลอดแก้ว แสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีแคโทด ซึ่งทำให้มีแสงมายังตากของผู้ใช้ค่อนข้างมาก
จอซีอาร์ที
1.2 จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display Monitor) เป็นจอภาพแบบแบน และใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว หรือ liquid crystal จึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย จึงทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอแอลซีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) จอทีเอฟที (TFT : Thin film Transistor) หรือแอคทีปเมทริกซ์ เป็นหน้าจอที่มีการตอบสนองต่อการแสดงผลที่ค่อนข้างไว ประมวลผลการทำงานได้รวดเร็ว ทำให้การแสดงผลมีความละเอียด สว่างและมีความคมชัดมาก มักจะนำไปใช้ในโน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ กล้องดิจิตอล เป็นต้น
จอทีเอฟที
2) จอพาสซีพเมทริกซ์ (passive matrix) เป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอทีเอฟที มักจะนำไปใช้เป็นจอโทรศัพท์มือถือทั่วไป หรือจอของเครื่องพาล์มท็อบคอมพิวเตอร์ สีขาวดำ
จอพาสซีพเมทริกซ์
1.3 จอพลาสมา (plasma monitor) เป็นจอภาพที่มีเทคโนโลยีที่ให้มุมมองจอภาพที่กว้างถึง 160 องศา มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ได้ดี จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์และกีฬาเป็นอย่างมาก
จอพลาสมา
การเลือกซื้อจอภาพ
1. ควรเลือกประเภทของจอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานประมาณ 4-8 ชั่วโมง ควรเลือกภาพแอลซีดี
2. ควรเลือกจอภาพที่มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ปัจจุบันมีมาตรฐานอยู่ 2 ขนาดที่ได้รับความนิยม คือ 15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ข้อดีของจอ 17 นิ้ว คือ เหมาะสำหรับงานออกแบบกราฟิก เพราะมีพื้นที่มากกว่าแต่มีราคาสูงกว่าจอ 15 นิ้ว
3. ควรเลือกจอภาพที่มีศูนย์บริการและมีการรับประกัน
การดูแลรักษาจอภาพ
1. การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรเปิดจอภาพก่อนจึงเปิดที่ case เครื่อง และไม่ควรเปิด ปิดเครื่องติด ๆ กัน ควรพักเครื่องไว้ประมาณ 5-10 นาที ก่อนเปิดเครื่องใหม่ เพราะการเปิดปิดเครื่องติด ๆ กันอาจทำให้การทำงานของเครื่องผิดปกติและเครื่องอาจค้างได้
2. ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับแสงสว่างของห้องทำงานและสภาพการทำงาน เพราะถ้าปรับแสงสว่างของจอภาพมากเกินไป จะทำให้จอภาพมีอายุการใช้งานสั้นลง
3. ควรตั้งโปรแกรมถนอมจอภาพเพื่อยืดอายุการใช้งานจอภาพให้ยาวนานขึ้น
2. แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปข้อมูล รายงาน รูปภาพ ลงบนกระดาษ ซึ่งสามารถสัมผัสและเก็บรักษาไว้ได้นาน เครื่องพิมพ์อาจเรียกว่า หน่วยแสดงผลถาวร ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์มีหลายชนิด ดังนี้
2.1 เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (inkjet printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพราะมีราคาไม่แพงมากนัก หลักการพิมพ์ใช้วิธีฉีดพ่นหยดหมึกเล็ก ๆ ให้ติดกับกระดาษ มีข้อดีคือทำให้หยดหมึกไม่แพร่กระจายหรือซึมรวมกัน หมึกพิมพ์แบบสีต้องใช้แม่สีซึ่งบรรจุอยู่ในตลับสามสี ปกติการใช้งานสีแต่ละสีจะหมดไม่พร้อมกัน ถ้าสีใดสีหนึ่งหมดจะส่งผลทำให้เครื่องพิมพ์ไม่ทำงาน ดังนั้นบางบริษัทจึงแยกหมึกพิมพ์แต่ละสีออกจากกัน เพื่อให้เป็นอิสระในการเปลี่ยนสีเพื่อความประหยัด บางรุ่นอาจแยกหมึกสีดำออกมาต่างหากสำหรับการพิมพ์สีดำอย่างเดียว ส่วนใหญ่หมึกพิมพ์แบบฉีดหมึกจะมีราคาแพงเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยกับจำนวนแผ่นงานที่พิมพ์ แต่ให้ผลงานที่มีความสวยงาม คมชัดมากกว่า จะเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสวยงาม
เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก
2.2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าบวกบนแผ่นกระดาษที่เคลื่อนผ่าน ผงหมึกที่มีประจุลบจุถูกดูดกับประจุบวก จากนั้นลูกกลิ้งร้อนจะช่วยให้หมึกติดกับกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีความเร็วในการพิมพ์สูงและมีต้นทุนการพิมพ์เฉลี่ยต่อแผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก จึงเหมาะกับงานที่ต้องพิมพ์ปริมาณมาก เช่น สำนักงาน สถานศึกษา ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น
เครื่องพิมพ์เลเซอร์
การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์
1. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับลักษณะของงานที่ต้องการ ถ้าเป็นงานพิมพ์เอกสารจำนวนมาก ควรเลือกเครื่องพิมพ์เลเซอร์ และถ้าเป็นงานพิมพ์ที่มีจำนวนไม่มากและต้องการงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก
2. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน
การดูแลรักษาเครื่องพิมพ์
1. ควรเลือกใช้กระดาษที่ได้คุณภาพและขนาดไม่ควรหนาเกินกว่า 90 แกรม
2. ควรเก็บตลับหมึกไว้ในที่ปราศจากฝุ่นและในที่มีอุณหภูมิไม่สูง
3. ควรเปิดเครื่องพิมพ์ทำงานอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก เพื่อป้องกันหัวฉีดของเครื่องพิมพ์อุดตัน
1.3 ลำโพง
ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์รูปแบบเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะให้มาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำโพงมี 2 ชนิด ดังนี้
1. ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มสำหรับปรับเสียง ได้แก่ ปุ่ม volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม base สำหรับปรับระดับความดัง เสียงทุ้ม และปุ่ม treble สำหรับปรับระดับความดังของเสียงแหลม
2. ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง จะมีกรวยของลำโพงที่ใช้ภายในตัวลำโพง (speaker) ขนาดเล็กประมาณ 2 นิ้ว ลำโพงชนิดนี้จะต้องใช้การ์ดเสียงที่มีวงจรขยายเสียงสำหรับขยายเสียงออกลำโพง
การเลือกซื้อลำโพง
1. ควรทดสอบฟังเสียงก่อน การทดสอบนั้นควรเปิดระดับดังที่สุดและเบาที่สุดเพื่อฟังความคมชัดของเสียง
2. ควรเลือกลำโพงที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน
การดูแลรักษาลำโพง
1. ควรทำความสะอาดด้านหน้าลำโพง โดยการใช้ไม้ปัดฝุ่นหรือเครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็ก
2. ควรเปิดเสียงในระดับปานกลาง หรือร้อยละ 80 จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เพราะถ้าเปิดดังเกินไป อาจทำให้ลำโพงเกิดความเสียหายได้
2. ควรเปิดเสียงในระดับปานกลาง หรือร้อยละ 80 จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เพราะถ้าเปิดดังเกินไป อาจทำให้ลำโพงเกิดความเสียหายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น